ประเทศไทย จัดได้ว่าเป็นเมืองที่มีอากาศร้อนชื้น ถ้าตามหลักสภาพอากาศทั่วไป แต่ทว่าในปัจจุบันต้องบอกว่า แสงแดดที่นี่ค่อนส่งผลเสียเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ รวมไปถึงการทำร้ายผิวหน้า ผิวกาย บางรายถึงขึ้นเป็นภูมิแพ้ หรือ สะสมการถูกทำร้ายจนกลายเป็นโรคร้ายแรงอย่างมะเร็งผิวหนังด้วยในที่สุด สำหรับวันนี้พวกเราจะพาทุกคนไปรู้จักกับ “ ผื่นแดด ” ที่เป็นปัญหากวนใจสำหรับคุณผู้หญิง หรือ คุณผู้ชาย ที่ต้องออกไปเจอแดดบ่อย ๆ โดยเบื้องต้นจะเป็นปัญหาเรื่องอาการคัน อาการแดง รวมทั้งเป็นผื่นร่วมด้วย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความรำคาน ซึ่งในบางรายเกิดอาการเกาผื่นจนเป็นแผล นี่แหละคือผลเสียสำคัญเลยทีเดียวสำหรับคุณผู้หญิง แต่จะว่าไปแล้วถ้าเราทำความรู้จักกับโรคนี้ รวมทั้งมองหาวิธีป้องกันอย่างถูกต้อง ก็ไม่มีอะไรที่จะต้องกลัวอีกต่อไป เพราะวันนี้ในบทความนี้ พวกเราได้รวบรวมเอามาไว้ให้อ่านแล้วเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งจะมีรายละเอียดอย่างไร ติดตามอ่านกันได้ในบทความนี้
คำถามที่ทุกคนสงสัยเกี่ยวกับคำว่า “ผื่นแดด” อันดับแรกต้องบอกก่อนเลยว่า “โรคผื่นแดด” จะเป็นอีกหนึ่งอาการของกลุ่มโรคผิวหนัง ที่เกิดจากการถูกกระตุ้นด้วยแสงยูวี ในแสงแดดนั่นเอง อีกหนึ่งปัจจัยที่กระตุ้นก็คือ ความร้อนที่เกิดจากเหงื่อด้วยเช่นกัน หรือจะเล่าให้ฟังแบบเข้าใจง่ายที่สุดก็คือ แสงแดดในทุกเวลา จะทำให้คนที่ผิวแพ้ง่าย หรือ ระคายเคืองง่าย เกิดโรคนี้ขึ้นได้อย่างชัดเจนนั่นเอง
ผื่นแดด ถ้าจะให้พูดโดยรวมก็คือ โรคที่มาจากแสงแดดนั่นเอง โดยอาจจะส่งผลให้เกิดโรคร้ายแรง หรือ ไม่ร้ายแรงก็เป็นไปได้ทั้งนั้น ซึ่งข้อมูลนี้ได้มาจาก แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ที่ได้กล่าวเพิ่มเติมเอาไว้ว่า “โรคผิวหนังที่อาจจะมากับแสงแดดนั้น มีดังต่อไปนี้”
สำหรับทั้งหมด 4 โรคที่เกิดจากการถูกแสงแดดทำร้าย ก็จะมีระดับความร้ายแรงต่างกันไป แต่ต้องพูดถึงเลยว่า แสงแดด คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน ดังนั้นแสงแดดจึงเป็นอันตรายอย่างมากในปัจจุบัน
อาการผื่นแดด จะเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น คุณผู้หญิง หรือ คุณผู้ขาย จะต้องเริ่มต้นสำรวจตัวเองได้ง่าย ๆ เลยก็คือ เมื่อเจอแสงแดด จะทำให้เป็นผื่นสีแดงบริเวณผิวหนัง มีอาการคัน มีตุ่มแดงขึ้นตามร่างกาย ซึ่งอาการนี้ถ้าเป็นถึงขั้นรุนแรง ก็จะมีผดทั่วร่างกายเลยทีเดียว อีกทั้งผดจะรุนแรงมากขึ้นเมื่อผิวสัมผัสกับแสงแดดด้วย
แต่อาการนี้ก็เรียกได้อีกอย่างว่า ผิวแพ้แดด ซึ่งมีสาเหตุยังไม่ชัดเจน แต่คาดว่า รังสียูวี จะเป็นตัวที่ปรับเปลี่ยนสารในผิวหนังของคนที่แพ้ พร้อมทั้งทำลายระบบภูมิคุ้มกันที่ทำให้ผิวหนังอักเสบได้อย่างง่าย โดยลักษณะอาการของผิวแพ้แดด จะเรียกว่าผื่นหลายรูปแบบจากแสงแดด หรือ polymorphous light eruption, PLE อาการนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในฤดูร้อน หรือ ถูกแสงแดดได้อย่างเดียว แต่ในช่วงอาการร้อน หรือ จุดอับ ก็เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน เพราะผิวบอบบางมาก แม้แต่เปิดหน้าต่างรับแสงเพียงเล็กน้อยก็เกิดผื่นแดงบนผิวได้เลย
โดยอาการของผื่นแดด ที่พบบ่อย หลังจากที่ได้ศึกษาเรื่องผิวแพ้แดด หรือ ผื่นแดด เรื่องที่พบบ่อยก็คือ มีจุดเล็ก สีแดง พบบริเวณ บ่าไหล่ คอ แขนขา หลังเท้า บางรายมีแผลพุพอง รอยแดงแบบแห้ง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ระหว่างผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 15 ถึง 35 ปี แต่โดยรวมอาจจะเกิดขึ้นกับใครก็ได้ ในส่วนของคนผิวขาวก็พบได้บ่อย แต่คนผิวเข้มก็แพ้แดด เป็นผื่นแดดได้เช่นเดียวกัน
เมื่อเกิดอาการผื่นแดด ไม่ว่าคุณจะรู้สึกที่ตรงไหนของร่างกาย ควรจดจำอาการ ยิ่งไปกว่านั้นต้องถ่ายรูปเอาไว้เป็นหลักฐาน ในกรณีที่ไปพบแพทย์ เพื่อยืนยันว่าคุณได้เป็นผื่น หรือ รอยแดงตรงนี้จริง ดังนั้นแล้ววิธีรักษาอาการ อันดับแรกยะต้องมาพบแพทย์ เพื่อใช้ยาทาลดอาการอักเสบของผดผื่นก่อนเป็นอันดับแรก พร้อมรับคำแนะนำจากแพทย์โรงพยาบาล หรือ คลินิกเท่านั้น ส่วนวิธีการอื่น ๆ จะอยู่ในหมวดหมู่ของพฤติกรรมที่คุณจะต้องหลีกเลี่ยงต่าง ๆ โดยพวกเราได้รวบรวมข้อมูล สาเหตุที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้จัดอยู่ในหัวข้อของ “วิธีป้องกันผื่นแดด” นั่นเอง
เมื่อผิวของคุณเกิดอาการแพ้แดด เป็นผื่นคัน หรือ มีรอยแดงอักเสบ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว พร้อมทั้งได้รับยาใช้ทาเพื่อลดการอักเสบจากแพทย์ คุณเองก็จะต้องมีวิธีการป้องกันในแบบฉบับของการใช้ชีวิต เพราะหลังจากนี้ชีวิตของคุณจะเปลี่ยนไป ต้องดูแลผิว และ ร่างกายที่แพ้ง่ายนี้ตลอดไป โดยมีวิธีง่าย ๆ ที่จะป้องกันได้ 4 ข้อดังต่อไปนี้
คำแนะนำที่สำคัญก็คือ การหลีกเลี่ยงแดดจัด รวมทั้งสถานที่ร้อนอบอ้าว หากจำเป็นต้องเดินทางก็ควรมีอุปกรณ์ป้องกันแดด หรือ ใส่เสื้อแขนยาว ขายาว เพราะผิวที่แพ้ง่าย บอบบาง แม้ว่าแดดเพียงเล็กน้อยก็ส่งผลให้คุณแพ้ เกิดผดผื่นได้
การแพ้แดด หรือ โรคผื่นแดด นั้น มีหลากหลายสาเหตุปัญหาที่เกิดขึ้น บางคนก็แพ้ บางคนก็ไม่แพ้ หรือ เพิ่งที่จะมาผิวบางในช่วงอายุมากขึ้น ดังนั้นแล้วคำแนะนำสำหรับบุคคลธรรมดาที่ยังไม่เกิดอาการนี้ ควรที่จะหลีกเลี่ยง ยาบางประเภท ตัวอย่างเช่น ยาปฏิชีวนะ เตตราไซคลีน (Tetracycline Antibiotics) ซึ่งมีผลข้างเคียงคือสามารถกระตุ้นอาการผิวแพ้แดดได้ รวมไปถึงน้ำหอม หรือ น้ำมะนาว ที่มีส่วนเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นแล้ว เมื่อจะใช้ผลิตภัณฑ์เคมี หรือ การกินยาต่าง ๆ ก็ควรศึกษาผลข้างเคียงด้วย เพราะนี่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ชีวิตของคุณเปลี่ยนไป
ถึงแม้ว่ายังไม่ใช่เรื่องที่ยืนยันว่าจะรักษาได้ 100% ก็ตาม เพราะร่างกายของคนเรานั้นแตกต่างกัน แต่ทว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังบางราย ได้แนะนำว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่มีเบต้าแคโรทีน,วิตามินบี 3,ซีลีเนียม รวมทั้ง ไพรโบโอติก จะสามารถลดการเกิดของผื่น จากการแพ้แสงแดด หรือ ผื่นแดดได้ แต่ทว่าจะต้องเริ่มทานเสริมเป็นระยะเวลาร่วมเดือน กว่าจะออกแดดได้อีกครั้ง
สำหรับตัวผื่นคัน หรือ อาการเจ็บปวดจากผื่นคัน ทางการแพทย์อาจจะให้ใช้ครีมคอร์ติโคสเตียรอยด์ เพื่อลดการเจ็บปวดจากผื่นนั่นเอง แต่ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะวิธีนี้มีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างอันตรายเช่นกัน
การรักษาอีกวิธีหนึ่งก็คือ การส่องไฟ หรือ Phototherapy แต่จะต้องดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น โดยวิธีนี้จะทำให้เผยผิวหนังของคุณให้ได้รับรังสียูวีในปริมาณที่ได้รับการควบคุมเอาไว้ เพื่อลดความไวของผิว โดยจะต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่ผลข้างเคียงก็ยังอันตราย เพราะอาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังได้เช่นกัน
หัวข้อสุดท้ายในบทความนี้ ขอเน้นไปในเรื่องความสำคัญของการดูแลสุขภาพประวัน เพราะใน 1 วันของคุณมีพฤติกรรมใดบ้างที่เหมาะสม หรือ ไม่เหมาะสม เมื่อคุณรู้สึกว่าคุณผิวแพ้ง่าย หรือ ในอนาคตมีโอกาสที่จะเป็น “ผื่นแดด” ก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ให้เหมือนกับ 10 ข้อ กับ พฤติกรรมที่คุณต้องปรับทันที ซึ่งมีดังต่อไปนี้
เรียกได้ว่าข้อมูลทั้งหมดที่พวกเราได้เรียบเรียงมานำเสนอในวันนี้ จะเน้นไปทางข้อมูลที่เชื่อถือได้ จากการอ้างอิงของแพทย์ ซึ่งแน่นอนว่าโรคผื่นแดด หรือ การแพ้แดด เป็นโรคที่ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็เกิดขึ้นได้ถ้าหากว่าพฤติกรรมของคุณนั้นทำร้ายผิว แต่ทว่าตอนนี้ก็ต้องมีการป้องกันเอาไว้ก่อน เพราะแสงแดดในประเทศไทยนั้นแรงมาก วิธีป้องกันเบื้องต้นคือครีมกันแดด รวมทั้งการหลีกเลี่ยงไปในสถานที่ร้อน หรือ แสงแดดจัด พวกเราหวังว่ารายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับ “ผื่นแดด” จะเป็นความรู้สำคัญให้ท่านผู้อ่านได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับผิว ความละเอียดอ่อน การดูแลตัวเองของทั้งคุณผู้หญิง กับ คุณผู้ชายมากขึ้น
อ้างอิงจาก:
รู้จักอาการ สาเหตุ และวิธีการจัดการดูแลปัญหาผิวแพ้แดด (larocheposay-th.com)
4 “โรคผิวหนัง” อันตรายที่พบบ่อยในหน้าร้อน พร้อมวิธีป้องกัน (sanook.com)